ช.ชาย เสาเข็มเจาะ &ไมโครไพล์ รับเจาะเสาเข็ม โทร. 084-816-5175
ช.ชาย เสาเข็มเจาะ & ไมโครไพล์ บริการเจาะเสาเข็ม รับเจาะเสาเข็ม ยินดีรับปรึกษาปัญหาที่เกี่ยวกับงานเข็มเจาะ และรับประเมินราคาเข็มเจาะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รับทำเสาเข็มเจาะ&ไมโครไพล์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35-60 ซม. ระบบแห้ง โดยระบบสามขา รับงานทั่วประเทศ กรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะ&ไมโครไพล์ ในการทำเสาเข็มเจาะ&ไมโครไพล์ชนิดนี้ประกอบด้วย อุปกรณ์ค่อนข้างเล็กไม่ยุ่งยากเคลื่อนย้าย สะดวกไม่ต้องการบริเวณทำงานมากนัก อุปกรณ์หลักประกอบด้วย ขาหยั่ง 3 ขา รับทำเสาเข็มเจาะ&ไมโครไพล์ เข็มเจาะ รับทำเสาเข็มเจาะระบบแห้ง DRY PROCESS ขนาด 35 ซม., 0.40 ซม., 0.50 ซม., 0.60 ซม. รับเหมาทำทั้ง ค่าของ+ค่าแรง และ เฉพาะค่าแรงอย่างเดียว
หน้าที่ของเสาเข็ม คือ การถ่ายแรงกระทำตามแกน แรงกระทำทางข้าง แรงบิด และโมเมนต์ดัดลงสู่ชั้นดิน หรือชั้นหินที่อยู่รอบและใต้เสาเข็ม เพื่อที่จะทำหน้าที่นี้ เสาเข็มจะเป็น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดินหรือหินรอบเสาเข็ม และโครงสร้างที่อยู่เหนือเสาเข็ม ความสัมพันธ์ระหว่างเสาเข็มต่อชั้นดินเป็นตัวแปรที่สำคัญ ประการหนึ่งในการ ออกแบบเสาเข็มปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเสาเข็มนั้นไมสามารถใช้ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งให้คลอบคลุมได้ทั้งหมดดังนั้นจึง ต้องตั้งดังนั้นจึงต้องตั้งสมมุติฐานบางประการขึ้นมาอย่างไรก็ตามในการออกแบบนั้นจะต้องคำนึงถึงการก่อสร้างประกอบด้วย
เสาเข็มเจาะ & ไมโครไพล์
การทำเสาเข็มเจาะระบบแห้งโดยใช้สามขา (Dry Process Bored Pile)
ในการทำเสาเข็มเจาะชนิดนี้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ค่อนข้างเล็กไม่ยุ่งยาก เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่ต้องการบริเวณทำงานมากนัก อุปกรณ์หลักประกอบด้วย ขาหยั่ง 3 ขา ( TRIPOD ) ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing) กระเช้าตักดิน (Bucket) ลูกตุ้ม (Cylindrical Hammer)และเครื่องกว้านลม(Air Winch) ซึ่งมีขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. การจัดเครื่องมือเข้าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ
ปรับตั้ง 3 ขา ให้ได้ตรงแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จึงตอกหลักยึดปรับแท่นเครื่องมือให้แน่น แล้วใช้กระเช้าเจาะนำเป็นรูลึก (PRE – BORE) ประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร
การจัดเครื่องมือเข้าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขั้นตอนที่ 2. การตอกปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING)
ลงปลอกเหล็กตรงตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ โดยใช้สามขา (Tripod Rig) และใช้ลูกตุ้มตอกปลอกเหล็กที่มีความยาวท่อนละ 1.20 – 1.50 เมตร ลงดิน ปลอกเหล็กแต่ละท่อนจะต่อกันด้วยเกลียว ความยาวของปลอกเหล็กโดยรวมต้องเพียงพอที่จะป้องกันชั้นดินอ่อนพัง ในขณะลงปลอกเหล็กจะทำการตรวจวัดค่าความเบี่ยงเบนไม่ให้เข็มเจาะเอียง โดยปรกติในการปฏิบัติ ค่าความเบี่ยงเบนที่ยอมให้คือ
- ความเบี่ยงเบนแนวราบ 5 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มเดี่ยว
- ความเบี่ยงเบนแนวราบ 7 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มกลุ่ม
- ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง 1 : 100
การตอกปลอกเหล็กชั่วคราว
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขั้นตอนที่ 3. การเจาะและการใส่ Casing
เมื่อตั้ง Tripod เข้าตรงศูนย์เข็มแล้ว ใช้ Bucket เจาะนำเป็นรูลึกประมาณ 1.50 ม.แล้วนำ Casing ซึ่งทำเป็นท่อนๆ ต่อกันด้วยเกลียวตอกลงไปในรูเจาะในแนวดิ่ง จนลึกถึงชั้นดินแข็งปานกลาง (Medium Clay) ที่พอเพียงที่จะป้องกันการพังทลายของชั้นดินอ่อนและน้ำใต้ดินไว้ได้ จากนั้นใช้ Bucket ขุดเจาะเอาดินออกจนถึงชั้นดินปนทราย ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครมักจะอยู่ที่ความลึกประมาณ 18.0 -21.0 ม. (ขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีวิทยาของแต่ละพื้นที่)
การเจาะและการใส่ Casing
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขั้นตอนที่ 4. ใส่เหล็กเสริม
ปกติจำนวนเหล็กเสริมมีค่าประมาณ 0.35% – 1.00 % ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม เหล็กเสริมนี้จะใส่ Spacer ที่ทำด้วย Mortar ไว้เป็นระยะ เพื่อช่วยประคองโครงเหล็กให้ทรงตัวอยู่ในรูเจาะ โดยมี Covering ไม่น้อยกว่า 7.5 ซม. อยู่โดยรอบเหล็กปลอก โดยทั่วไประยะห่าง ระหว่างเหล็กปลอกจะไม่เกิน 0.20 ม. ความยาวของการต่อทาบเหล็กในแต่ละท่อนเป็น 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็ก โดยยกให้ปลายเหล็กพ้นจากปลายล่างของหลุมเจาะประมาณ 0.50 ม.
ใส่เหล็กเสริม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขั้นตอนที่ 5. การเทคอนกรีต
การเทคอนกรีตจนเต็มหรือเกือบเต็มหลุมเจาะนี้แม้จะเป็นข้อดี แต่จะกระทำได้สำหรับเสาเข็มเจาะที่เจาะดินไม่ผ่านชั้นทรายชั้นแรกเท่านั้น เพราะหากต้องเจาะผ่านชั้นทรายชั้นแรก จำเป็นต้องลงปลอกเหล็กยาวลงไปกันชั้นทราย การเทคอนกรีตขึ้นมามากเกินไป จะทำให้ไม่สามารถถอนปลอกเหล็กขึ้นได้ เพราะกำลังเครื่องจักรไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องทำการเทคอนกรีต และถอนปลอกเหล็กกันดินเป็นช่วงๆ กรณีเช่นนี้ควรคอยตรวจเช็คระดับคอนกรีตภายในปลอกเหล็กตลอดเวลาที่ดำเนินการถอน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่มีการไหลดันของดินและน้ำเข้ามา จนทำให้เสาเข็มคอดหรือขาดจากกัน และคอนกรีตควรควบคุม Slump ให้มีค่าอยู่ระหว่าง 12.50 +/- 2.50 ซม.เนื่องจากงานหล่อคอนกรีตของเสาเข็มเจาะไม่สามารถใช้เครื่องเขย่าหรือเครื่องจี้ได้
การเทคอนกรีต
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขั้นตอนที่ 6. การถอดปลอกเหล็กชั่วคราว
จะต้องเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราว (CASING) พอสมควรจึงจะเริ่มถอดปลอกเหล็กขึ้น โดยปกติขณะถอดปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในปลอกเหล็กไม่น้อยกว่า 0.50 ม. เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ชั้นดินอ่อนบีบตัว ทำให้ขนาดเสาเข็มเจาะเปลี่ยนไป และเป็นการป้องกันมิน้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะทำการถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมด จะเตรียมคอนกรีตให้มีปริมาณเพียงพอ และ จะต้องเผื่อคอนกรีตให้สูงกว่าระดับที่ ต้องการประมาณ 30-40 ซม. เพื่อป้องกันมิให้หัวเข็มในระดับที่ต้องการสกปรก เนื่องจากวัสดุหรือเศษดินร่วงหล่นลงไป ภายหลังจากการถอนปลอกเหล็กออกหมดแล้ว
การถอดปลอกเหล็กชั่วคราว
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขั้นตอนที่ 7. การทำเสาเข็มต้นต่อไป
เสาเข็มต้นต่อไปต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มที่เพิ่งทำแล้วเสร็จ ไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม หรือใกล้เคียงเสาเข็มต้นเดิมที่ ทำแล้วเสร็จไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ดังนั้นในการทำเข็มเจาะ ควรมีการวางแผนการเจาะหรือการวาง Sequence ของการเจาะเสาเข็ม เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อเสาเข็มที่เพิ่งจะหล่อเสร็จใหม่ๆ
การทำเสาเข็มต้นต่อไป
ช.ชาย เสาเข็มเจาะ & ไมโครไพล์ ที่อยู่ 113 หมู่ 11 ตำบลนราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 73130 โทร. 084 816 5175